ไขวิกฤติ‘แอชตัน อโศก’อึมครึม!อนันดาลั่นมั่นใจแจงคืบหน้า 23 ส.ค.

มหากาพย์คดี “แอชตัน อโศก” หลังศาลปกครองสูงสุดมีคําพิพากษายืนตามคําพิพากษาศาลปกครองกลาง ให้เพิกถอนใบอนุญาตโครงการแอชตัน อโศก คอนโดมิเนียมหรูย่านอโศก ยังคงเป็นที่จับตามอง “แนวทางแก้ไขปัญหา” ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะมีหลายฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน นักวิเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญในวงการต่างๆ นำเสนอมุมมองหลากหลายด้านจนถึงเวลานี้ยังคงอึมครึม!  ว่าท้ายที่สุดแล้วผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) เจ้าของบิ๊กโปรเจกต์มูลค่ากว่า 6,400 ล้านบาท รวม 783 ยูนิต แห่งนี้ ซึ่งพัฒนาในนาม บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด จะเลือกทางออกไหน? 

ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อนันดา มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโครงการแอชตัน อโศกซึ่งกรณีนี้จะกลายเป็นโดมิโนเอฟเฟกต์ (Domino Effect) ของวงการอสังหาริมทรัพย์ 

"ถือเป็นจังหวะดีที่อนันดาจะเข้าไปแก้ปัญหาเพราะการที่ศาลปกครองสูงสุดตัดสินออกมามีความชัดเจนว่าต้องดำเนินการอย่างไร ถือเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ต้องเข้ามาแก้ปัญหาที่ต้นตอของปัญหาเพราะถ้าไม่มีคำตัดสินออกมา กรุงเทพมหานคร (กทม.) คงไม่ให้ยื่นใบขออนุญาตใหม่ โดยสามารถยื่นขอใบอนุญาตใหม่ได้อย่างน้อยสุดคือ 30 วัน และสามารถยื่นต่อไปเรื่อยๆ ได้หากมีเหตุผลจำเป็นในการใช้เวลาในการแก้ปัญหาเพราะตอนนี้ผลกระทบเกิดขึ้นแล้ว”

บริษัทต้องเจรจากับหลายฝ่ายจึงต้องใช้ความละเอียดรอบคอบมากที่สุดเพื่อให้เป็นไปตามข้องบังคับและข้อกฎหมาย ซึ่งอยู่ใน 5 แนวทางที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ได้แก่ 1.ยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างใหม่ โดยการซื้อหรือหาที่ดินเพิ่มเติม 2.เสนอให้หน่วยงานภาครัฐแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องผ่านสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร ไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ไปยังคณะรัฐมนตรี

3.เสนอให้หน่วยงานภาครัฐแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องผ่าน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เสนอผ่านกระทรวงคมนาคม ไปยังคณะรัฐมนตรี 4.ประสานเจ้าของเดิมให้ยื่นทบทวนสิทธิ์ที่ดินทางเข้า-ออกจาก รฟม. ให้ทบทวนสิทธิที่ดินเดิมก่อนเวนคืน ควรให้สิทธิ์ทางเข้า-ออกอย่างน้อย 12-13 เมตร เพื่อให้สามารถขึ้นอาคารสูงและขนาดใหญ่พิเศษได้ และ 5.ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ เนื่องจากมีพยานหลักฐานใหม่ ทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป

ดังนั้นระยะเวลาสามารถยืดหยุ่นได้ตามความจำเป็นเพราะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการและข้อกฎหมายจำนวนมากเพื่อให้ถูกต้องชัดเจนก่อนยื่นขอใบอนุญาตใหม่ 
 

ส่วนการที่ลูกบ้านออกมาเรียกร้องให้เข้าไปคุยภายใน 7 วันนั้น ประเสริฐ กล่าวว่า Priority หลัก คือ การช่วยกันแก้ปัญหาก่อน ยังมีเวลาหากจะไปฟ้องร้องกันแต่ไม่ใช่วันนี้ เวลานี้สิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญคือการแก้ปัญหาเพื่อให้ออกใบอนุญาตออกมาให้ได้ก่อน หรือการแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ตึกไม่ได้รับผลกระทบทั้งลูกบ้านและเจ้าของโครงการ คือ อนันดา

“เวลานี้ไม่ใช่เวลาของการฟ้องร้องกัน เพราะไม่เป็นประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายทั้งกับลูกบ้านและอนันดาทำให้ไม่มีสมาธิในการดำเนินการแก้ปัญหา ถ้าตั้งสติดีๆ ลูกบ้านควรเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาก่อนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองในการแก้ต้นตอของปัญหา ถ้าผ่านช่วงเวลาฮอตแบบนี้ไปแล้ว อาจไม่มีโอกาสแก้ปัญหาแล้ว เพราะถ้าเรื่องช้าไปแล้วหน่วยงานราชการคงไม่ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาขนาดนี้”

โดย 5 แนวทางที่อนันดานำเสนอจะไล่ลำดับความสำคัญลงไปทีละขั้นตอนเริ่มจากความพยายามในการ “ขอใบอนุญาตใหม่” ก่อนหากไม่ได้จริงๆ ทางสุดท้ายค่อยไปดูกันในเรื่องของการแก้ไขกฎหมาย! ผ่านกระทรวงมหาดไทย รฟม. แต่ถ้าผ่าน รฟม.จะง่ายกว่าเพราะเป็นต้นทางในการอนุมัติ ส่วนแนวทางในการซื้อที่ดินเพื่อเปิดทางอยู่ในข้อแรกได้เตรียมเงินที่จะใช้ซื้อที่ไว้แล้ว แต่ต้องใช้เวลาในการเจรจาความเป็นไปได้ในหลายๆ แนวทางภายใต้กฎระเบียบใหม่

ประเสริฐ ระบุว่า มั่นใจว่าจะจบได้ เพราะมีหลายทางออก ยกเว้นกรณีเลวร้ายที่สุด (‎Worst-case) ไม่มีทางออกจริง ซึ่งจะไล่ไปตามวิธีการที่แจงไปก่อนหน้านี้  อีกด้านหนึ่ง คือ การยื่นให้ศาลปกครองสูงสุดตัดสินใหม่ ซึ่งสามารถทำควบคู่กันได้ แต่การแก้กฎหมายผ่าน รฟม. และ กทม. ไปที่กระทรวงมหาดไทย อาจมีความยากลำบากพอควร เพราะต้องถึง ครม.ทั้งคู่ ซึ่งอนันดาได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าฯ กทม. และ ผู้ว่าการฯ รฟม. เพื่อขอเข้าพบไปแล้วแต่ยังไม่ทราบว่าเมื่อไหร่ อย่างไร 

“ภายในวันที่ 23 ส.ค. นี้ น่าจะมีความคืบหน้าจาก 5 ทางออกที่นำเสนอว่า แต่ละแนวทางมีความคืบหน้าอย่างไร” อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญจากนี้ คือ โดมิโนเอฟเฟกต์ ของกรณี “แอชตัน อโศก” จะส่งผลกระทบ 100 โครงการ! จะเป็นอย่างไรต่อไป

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

อิสราเอลเฝ้าระวัง! นับถอยหลังครบรอบ 1 ปี‘ฮามาสโจมตี’

ก่อนถึงวันครบรอบหนึ่งปีในวันจันทร์ (7 ต.ค.) พลเรือตรีแดเนียล ฮาการี โฆษกกองทัพอิสราเอลแถลงผ่านโทรทัศ...

’สวัสดีโซล 2024‘ สุดปัง ชาวเกาหลีใต้ แห่ชมซอฟต์พาวเทอร์ไทยเพียบ

สถานเอกอัคราชทูตไทย ณ กรุงโซล ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) , สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร...

เครือข่ายความยั่งยืน SX2024 ส่งท้ายด้วยพลัง เตรียมก้าวสู่มหกรรมปี 2025

มหกรรม Sustainability Expo 2024 ครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้ปิดฉากลงอย่างน่าประท...

ส่องอัปเดตไมโครซอฟท์ ‘Copilot + PC’ ฟีเจอร์ใหม่กับขุมพลัง AI

ไมโครซอฟท์ เปิดตัวนวัตกรรม AI ใหม่ล่าสุด ที่กำลังจะได้รับการนำมาปรับใช้กับ Copilot+ PC และระบบปฏิบัต...