พัฒนาทักษะ AI แรงงาน นายจ้างVSรัฐบาล ใครลงทุน?

คาดหมายว่าการที่ “สัตยา นาเดลลา” ซีอีโอไมโครซอฟท์เดินทางมาไทย พร้อมประกาศแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน Cloud และ AI ในไทยครอบคลุมถึงการจัดตั้ง “ดาต้าเซ็นเตอร์” ระดับภูมิภาคแห่งใหม่ ในงาน Microsoft Build: AI Day เวทีพบปะชุมชนนักพัฒนา ผู้นำธุรกิจ และผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม ที่กรุงเทพฯ วานนี้ (1 พ.ค.) เป็นการต่อยอดการทำงานจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ที่ได้ลงนามกับรัฐบาลไทยให้ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI ระยะแรกจะช่วยยกระดับความสามารถ ด้าน AI ให้กับคนไทยกว่า 100,000 คน 

โดยหลังจากนี้ ไมโครซอฟท์จะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิดในการสนับสนุนนโยบาย “Cloud First” ของภาครัฐ ด้วยโครงการพัฒนาทักษะด้าน AI สำหรับข้าราชการและนักพัฒนาที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทย เพราะไมโครซอฟท์เป็นหนึ่งในบริษัทที่ทรงพลังที่สุดในศตวรรษ นี้ และ AI คืออนาคตที่สามารถเปลี่ยนแปลง ทั้งวิถีชีวิต สถานที่ทำงาน และวิธีการดำเนินธุรกิจ 

คำถามคือเราจะสามารถใช้ Data and AI Center ทำให้ประเทศไทยเป็น Digital Economy Hub ของภูมิภาคได้หรือไม่ เพราะไม่แน่ใจว่าปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนมีการลงทุนพัฒนาแรงงานให้มีทักษะ AI มากน้อยแค่ไหน รวมทั้งสถาบันการศึกษามีคณาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจำนวนมากพอ สำหรับการผลิตกำลังคนที่มีทักษะด้าน AI และดิจิทัลให้แก่นักศึกษา มีการจัดตั้งศูนย์วิจัย AI เพื่อเตรียมตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 

แม้ว่า AI อาจไม่สามารถทดแทนคนได้ 100% แต่ก็ได้ยินมานานว่า AI จะเข้ามาดิสรัปต์การทำงานของแรงงาน ซึ่งมีหลายอาชีพอาจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี และมีความเสี่ยงตกงานในอนาคต

สภาที่ปรึกษาแรงงานแห่งชาติ กระทรวงแรงงานระบุว่า กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ธนาคารพาณิชย์, ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง เริ่มนำร่องใช้หุ่นยนต์ทดแทนแรงงานได้เฉลี่ย 20-30% ของการจ้างงาน และนายจ้างกลุ่มนี้มีการลดการรับพนักงานเพิ่มชัดเจน รวมทั้งที่ผ่านมา องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ออกแถลงการณ์เตือนแรงงานในกลุ่มอาเซียนว่า แรงงานภาคการผลิต และบริการมีโอกาสถูกกระทบจากการเข้ามาของเทคโนโลยี ทั้งยังคาดการณ์ว่าในระยะเวลา 10 ปีจากนี้ไป แรงงานกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ก็มีโอกาสจะถูกทดแทนด้วยเช่นกัน

นาทีนี้การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในธุรกิจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะ AI ให้กับกลุ่มแรงงานให้พร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ในส่วนของภาคธุรกิจ ที่จำเป็นต้องปรับตัว “นายจ้าง” ที่มองเห็นโอกาส จะลงทุนพัฒนาทักษะให้กับ “พนักงาน” ส่วนรัฐบาลต้องลงทุนสร้างโอกาสในการเติมเต็มทักษะของโลกใหม่ให้กับทรัพยากรของประเทศ เพื่อให้มีความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน “แรงงาน” ทุกคนต้องพัฒนาและให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงจะทำให้มีความสามารถที่เหมาะสมกับงานที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต 


หมวดเดียวกัน

พบแล้ว! จุดตก ฮ.ประธานาธิบดีอิหร่าน รอข่าวเจ้าตัว l World in Brief

พบแล้ว! จุดตก ฮ.ประธานาธิบดีอิหร่าน ตามที่สื่ออิหร่านรายงานว่า เฮลิคอปเตอร์ลำที่ประธานาธิบดีอิบราฮิม...

เตรียมพร้อม! ยูเครนบังคับใช้ กม.ระดมพล รับมือรัสเซียโจมตีระลอกใหญ่

กฎหมายระดมพลฉบับใหม่ที่ผ่านการอนุมัติของรัฐสภายูเครนเมื่อกลางเดือนเมษายน เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันเ...

ผู้นำใหม่ไต้หวันเตรียมเสริมเขี้ยวเล็บ ติดตั้ง“ขีปนาวุธ-โดรน”รับมือจีน

“ไล่ ชิงเต๋อ”ประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวันที่สาบานตนรับตำแหน่งในวันนี้ (20พ.ค.) มีกลยุทธที่ดีที่สุดใน...

โจทย์ที่รอนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนใหม่

การเข้าทําหน้าที่ของนายหว่องอยู่ในช่วงที่สถานการณ์ทั้งในสิงคโปร์และโลกกําลังเปลี่ยนแปลงและท้าทาย มีโ...