‘โพลพระปกเกล้า’ เผย ก้าวไกล แรง ลุ้น สส.ทะลุ200 ทิ้งห่าง เพื่อไทย ได้ปริ่ม100

สถาบันพระปกเกล้า (โพลพระปกเกล้า) โดย สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับ สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองและศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง 76 จังหวัด สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ความนิยมในพรรคการเมืองและนายกรัฐมนตรี: 1 ปีหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาฯ 2566"

ผลการสำรวจ พบว่าถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในช่วงนี้ คนส่วนใหญ่ยังคงจะเลือกพรรคก้าวไกลมากเป็นอันดับ 1 ทั้งสองบัตร

เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า ถ้ามีการเลือกตั้งสส. ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต

  • ร้อยละ 35.7 ระบุว่า จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคก้าวไกล 
  • ร้อยละ 18.1 ระบุว่า จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย 
  • ร้อยละ 11.2  ผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย
  • ร้อยละ 9.2 ผู้สมัครจากพรรครวมไทยสร้างชาติ
  • ร้อยละ 7.8  ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ
  • ร้อยละ 5 ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์
  • ร้อยละ1.6 ผู้สมัครจากพรรคชาติไทยพัฒนา
  • ร้อยละ 1.2 ผู้สมัครจากพรรคประชาชาติ ตามลำดับ 

ในขณะที่มีผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าจะลงคะแนนให้ผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ หรือยังไม่ตัดสินใจเลือกใครในตอนนี้ รวมกันอีก ร้อยละ 10.2

เมื่อถามต่อไปว่า แล้วในการเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จะลงคะแนนให้แก่บัญชีรายชื่อของพรรคใด 

  • ร้อยละ 44.9 ระบุว่า จะลงคะแนนให้พรรคก้าวไกล 
  • ร้อยละ 20.2 ระบุว่า จะลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย 
  • ร้อยละ 10.9 พรรครวมไทยสร้างชาติ
  • ร้อยละ 3.5 พรรคภูมิใจไทย
  • ร้อยละ 3 พรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์
  • ร้อยละ 1.3 พรรคประชาชาติ
  • ร้อยละ 0.7 พรรคชาติไทยพัฒนา ตามลำดับ

นอกจากนี้น่าสนใจว่า ยังมีผู้ตอบที่ระบุว่าจะลงคะแนนให้พรรคการเมืองอื่น ๆ หรือไม่ต้องการลงคะแนนให้พรรคใดเลยในตอนนี้ รวมกันถึงร้อยละ 12.6

คะแนนนิยมของก้าวไกลทิ้งห่างเพื่อไทย จนทำให้ก้าวไกลอาจได้ สส. มากกว่าเพื่อไทย เกือบ 2 เท่า

 

เมื่อนำผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้เปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ปรากฏว่า พรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเพิ่มขึ้นมี 2 พรรค คือ พรรคก้าวไกลและพรรคประชาชาติ โดยพรรคก้าวไกลได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 9.67 ซึ่งอาจส่งผลให้พรรคมีโอกาสชนะการเลือกตั้งและได้ สส. เพิ่มขึ้นถึง 49 ที่นั่ง 

ส่วนพรรคประชาชาติได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 0.35 ซึ่งอาจทำให้พรรคมีโอกาสชนะการเลือกตั้งและได้ ส.ส. เพิ่มขึ้น 1 ที่นั่ง 

ในขณะที่มีพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตลดลง จำนวน 6 พรรค ได้แก่ พรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 7 และอาจส่งผลให้พรรค มีโอกาสเสียที่นั่งที่มีอยู่เดิมไปราว 28 ที่นั่ง 

ในส่วนของการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า มีพรรคการเมือง 5 พรรคได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้น คือ

  1. พรรคก้าวไกลได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 8.33
  2. พรรคพลังประชารัฐได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.62
  3. พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.66
  4. พรรคภูมิใจไทย ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.6
  5. พรรคชาติไทยพัฒนา ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.19

อย่างไรก็ตาม คะแนนนิยมที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวส่งผลให้พรรคก้าวไกลมีโอกาสได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 8 ที่นั่ง และพรรคพลังประชารัฐมีโอกาสได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 1 ที่นั่ง เพียงสองพรรคเท่านั้น ส่วนคะแนนที่เพิ่มขึ้นของอีกสามพรรคยังไม่มากพอที่จะทำให้ได้ที่นั่งเพิ่ม 

ในขณะที่มีพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลดลง จำนวน 3 พรรค คือ

  1. พรรคเพื่อไทย ได้รับคะแนนนิยมลดลง คิดเป็นร้อยละ 7.49
  2. พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 1.18
  3. พรรคประชาชาติ ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 0.24

คะแนนนิยมที่ลดลงดังกล่าวมีผลให้พรรคเพื่อไทยมีโอกาสได้ที่นั่งจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อน้อยลง 8 ที่นั่ง พรรครวมไทยสร้างชาติมีโอกาสได้น้อยลง 2 ที่นั่ง และพรรคประชาชาติมีโอกาสได้ที่นั่งน้อยลง 1 ที่นั่งตามลำดับ

เมื่อนำตัวเลขประมาณการที่นั่งที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีโอกาสได้รับจากการเลือกตั้งทั้งสองระบบมารวมกัน พบว่า หากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วงเวลานี้ 

  • พรรคก้าวไกลเป็นพรรคที่มีโอกาสได้ที่นั่งมากที่สุด รวม 208 ที่นั่ง 
  • รองลงมาเป็น พรรคเพื่อไทย 105 ที่นั่ง
  • พรรคภูมิใจไทย 61 ที่นั่ง
  • พรรครวมไทยสร้างชาติ 34 ที่นั่ง
  • พรรคพลังประชารัฐ 30 ที่นั่ง
  • พรรคประชาธิปัตย์ 22 ที่นั่ง 
  • พรรคชาติไทยพัฒนา 10 ที่นั่ง 
  • พรรคประชาชาติ 9 ที่นั่ง ตามลำดับ

ส่วนที่นั่งที่เหลือจะกระจายไปยังพรรคการเมืองอื่นๆ รวม 21 ที่นั่ง

 

ทั้งนี้ เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า ถ้าเลือกได้ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในช่วงเวลานี้มากที่สุด ส่วนใหญ่ ระบุว่า

อยากให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.9 

  • รองลงมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 17.7 
  • น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 10.5 
  • นายเศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 8.7 
  • นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 3.3
  • นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ร้อยละ 1.7
  • พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 0.4 ตามลำดับ
  • ยังมีผู้ตอบที่ระบุชื่อคนอื่น ๆ รวมกับที่ยังไม่เห็นว่ามีคนที่เหมาะสมอีก ร้อยละ 10.9

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

เกษตรฯ วางกรอบแก้ปัญหาฝุ่น พบเผาพื้นที่ตนเอง งดช่วยเหลือทุกกรณี

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการ เป็นประธานการประชุม...

เปิด5ทำเล“ราคาที่ดิน”เพิ่มสูงสุด!นครปฐมรั้งแชมป์พุ่ง82.1%แซงกทม.ชั้นใน

จากราคาที่ดินของโซนกรุงเทพชั้นในเริ่มมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดจากการพัฒนาโครงการ...

ถ่ายทอดสด ทีมชาติไทย U20 - ออสเตรเลีย ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน U19 รอบรองฯ

ทีมชาติไทย U20 เพิ่งยันเสมอ มาเลเซีย 1-1 ทำให้จบเกมรอบแบ่งกลุ่มในฐานะ รองแชมป์กลุ่ม C ซึ่งตารางบอลถู...

ตารางบอล โอลิมปิก 2024 วันเสาร์ที่ 27 ก.ค. 67 ลิงค์ถ่ายทอดสดทุกคู่

โปรแกรมฟุตบอล วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 ตารางแข่งฟุตบอลชาย โอลิมปิก 2024 รอบแบ่งกลุ่ม นัดที่ 2 อัป...