กกต.แจง 5 ปัญหากติกาซับซ้อนเลือก สว. ชี้ปมฮั้วตัดสินจากความเห็นไม่ได้
วันที่ส่ง: 07/06/2024 - ผู้เขียน: กรุงเทพธุรกิจ
เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. แถลงสรุปผลงานของ กกต. และสำนักงาน กกต. ภายใต้แนวคิด “ร่วมสร้างพลเมือง ขับเคลื่อนประชาธิปไตย” ในงานวันสถาปนาสำนักงาน กกต.ครบรอบ 26 ปี ตอนหนึ่งว่า เป้าหมายจะไปถึงไหน เป็นปัญหาร่วมกันของคนไทยทุกคน ไม่ใช่ปัญหาของ กกต.อย่างเดียว ขอบอกถึงเจตจำนงของเราว่า เราจะทำงานอย่างไรต่อไป ผลเป็นอย่างไร ต้องรอดูว่าจะเป็นอย่างที่เราได้บอกไปหรือไม่ นี่น่าจะเป็นส่วนที่สื่อสนใจ 2 เรื่องคือ 1.เป็นข่าวเมื่อวาน เรื่องที่สังคมสงสัยว่าการเลือก สว.ครั้งนี้ เหมือนคนบอกว่า ทำไมมันสับสนหรือซับซ้อน จะนำประเด็นพวกนี้มาชี้แจงอีก 5 ประเด็น อย่างไรก็ต้องมีการเลือก สว.ไม่ในวันอาทิตย์นี้ หรือวันไหนก็ไม่รู้ เรามีการเลือกแน่นอน ปัญหาหรือกติกาต่าง ๆ ควรให้เกิดความชัดเจน ตัวกฎหมายที่เขียน บางเรื่องไม่สุดทาง ทำให้คนไปตีความได้ ต่างคนต่างพูด ทำให้อาจเกิดความสับสนได้
นายแสวง แบ่งปัญหาเกี่ยวกับกติกาการเลือก สว.ออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก อำเภอหนึ่งมี 1 กลุ่ม อาจเกิด 2-3 กรณี กรณีเกิดก่อนคือ มีคนสมัครอำเภอนั้น 1 กลุ่ม หรือในวันเลือกมีบางกลุ่มมารายงานตัวทั้งกลุ่มจะเหลือกลุ่มเดียว หรือผู้สมัครถูกถอนชื่อจาก 2,020 คน อาจทำให้เหลือกลุ่มเดียวได้ โจทย์ของสังคมบอกว่า กกต.ตัดสิทธิ์ หรือชาวบ้านผิดอะไรเสียเงิน 2,500 บาทแล้วไม่ได้ใช้สิทธิ์ อยากเรียนว่าไม่ได้ตัดสิทธิ์ ผู้สมัครกลุ่มนี้ไม่ว่าเกิดกรณีไหน เราจะให้มีการเลือกเหมือนเดิม ท่านต้องไปใช้สิทธิ์ ถ้าเกิน 5 คน เกินโควตา ท่านก็ต้องเลือกกันเองให้เหลือตามสิทธิ์ของกลุ่มนั้นที่จะเข้าไปรอบระดับจังหวัด ถ้าไม่มีกลุ่มไขว้ นั่นถือว่าไม่มีคะแนน กกต.ไม่ได้ตัดสิทธิ์ ให้เลือกเหมือนเดิม
"ท่านเข้าไปอยู่ในสนาม อาจไม่คุ้มค่าเงิน 2,500 บาท แต่ใช้เงินดังกล่าวในสิทธิ์นี้แล้ว คือการเข้าไปใช้สิทธิ์ อยากขอให้มาใช้สิทธิ์ เพื่อได้นำสิทธิ์นี้มาเลือก ไปใช้สิทธิ์ อาจร้องศาล เราอยากช่วย เราก็คิดเหมือนท่าน แต่กฎหมายให้เราเดินได้แค่นี้ ท่านใช้สิทธิ์นี้ไปร้องที่ศาลก็ได้ เพื่อให้ได้สิทธิ์กลับคืนมา อยากสื่อสารไปยังผู้สมัครที่มีลักษณะอำเภอเดียวมีกลุ่มเดียวว่า ให้มาใช้สิทธิ์ แล้วเอาสิทธิ์ไปใช้ต่อ ถ้ารู้สึกกฎหมายไม่เป็นธรรม อาจใช้สิทธิ์ถ้าเห็นว่าหน่วยงานไหนให้สิทธิ์ท่านใด นี่คือประเด็นว่า กกต.ไม่ได้ตัดสิทธิ์ และไม่ได้เห็นว่าชาวบ้านผิดอะไร" นายแสวง กล่าว
ประเด็นที่สอง การทำบัตรใหม่ มีบัตรรอบไขว้ 5 กลุ่ม ผู้สมัครต้องถือไป 4 ใบ นั่นคือเจตนาการทำบัตรใหม่คุ้มครองประโยชน์ของผู้สมัครด้วยมาตรา 56 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. เกี่ยวกับเรื่องบัตรเสีย การนำบัตรมารวมกันหลาย ๆ กลุ่ม จะทำให้กลุ่มอื่นที่เขาอยู่ในบัตรเดียวกัน ที่ลงหมายเลขถูก กลายเป็นบัตรเสียไปด้วย เลยต้องแยกบัตรเพื่อให้เกิดความเสียหายกับผู้สมัครน้อยที่สุด ก็เสียเฉพาะคนในกลุ่มนั้นเท่านั้น นี่คือเจตนาที่ต้องทำบัตรใหม่ ส่วนการทำบัตรใหม่ การบริหารจัดการไม่ต้องห่วง สำนักงานกฯคิดไว้ ทั้งเรื่องบัตรไม่ตรงกัน บัตรสลับกัน หรือคนลงคะแนนซ้ำ 2 ครั้ง เราคิดไว้หมดแล้ว ได้อบรม อปร. และก่อนเลือก 3 วัน เราให้คู่มือสำหรับผู้สมัครได้แทรกเรื่องนี้ไปพร้อมกับเอกสารแนะนำตัว สว.3 ในวันเลือกผู้สมัครสามารถนำเอกสารเข้าไปในคูหาได้ 2 อย่าง หนึ่งในนั้นคือคูมือถึงวิธีการขั้นตอนในการลงคะแนนอยู่ด้วย ขอให้สบายใจได้ว่าไม่ได้มีเรื่องอะไรมากไปกว่าคุ้มครองผู้สมัคร
ประเด็นที่สาม การฮั้วหรือการจัดตั้ง หรือการซื้อเสียง การแลกคะแนน การจ้างลงสมัครที่เป็นข่าว สำนักงานฯมีข้อมูลมากกว่าคนพูดเป็น 100 เท่า เพียงแต่ว่าเมื่อมีข้อมูลเราจะจัดการข้อมูลพวกนี้อย่างไร โพยเราก็มี อาจจะมากกว่า อาจเป็นการวิเคราะห์ความเห็นจากใครไม่รู้ แต่เราก็ดู ความสัมพันธ์แต่ละโพย เขาจัดตั้งกันมาหรือไม่ แบบนี้เราไปลงโทษจากความเห็นไม่ได้ ลงโทษต้องลงจากข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ยังยืนยันว่า เราลงโทษคนจากความเห็นไม่ได้ นี่คคือสิ่งที่สำนักงานฯต้องทำ คือให้ความเป็นธรรมทุกคน เราต้องการให้การเลือก สว.เป็นไปได้วยความสุจริต และเที่ยงธรรม
"ยืนยันไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องสืบสวนหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่การประชาสัมพันธ์ว่าเราทำอะไร แค่ไหน เพราะกระทบสิทธิ์คนอื่น ต้องรอดูข้อเท็จจริงว่าเขาทำผิดหรือไม่ เราดำเนินการตลอดเวลา เราจริงจังกับเรื่องนี้ เรามีคนอยู่ในทุกพื้นที่ ผมได้รับรายงานทุกวัน เพียงแต่ความรู้สึกคนเห็นว่า ใส่เสื้อสีเดียวกัน บริษัทเดียวกัน ถามว่าผิดไหม ยังไม่ผิด เราต้องดูว่าทำเกินกว่าใส่เสื้อสีเดียวกัน บริษัทเดียวกันหรือไม่ นี่คือโจทย์ที่เราต้องเชื่อมโยง" นายแสวง กล่าว
ประเด็นที่สี่ เรื่องคุณสมบัติผู้สมัคร สว. และเอกสารประกอบ เห็นว่ายังมีความเข้าใจผิดหลายเรื่อง คณะกรรมการที่รับสมัคร เราตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย และผู้สมัครต้องได้รับการรับรอง การลงกลุ่มไม่ใช่คุณสมบัติ เป็นเอกสารประกอบ เราไม่รู้หรอกว่าคนวันนั้นมาสมัคร เพิ่งเจอกันวันแรก เราไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเขาอยู่กลุ่มไหน เพราะเขามาวันแรก กฎหมายจึงให้คนรับรอง แค่คน ไม่ใช่หน่วยงานคัดกรองมา บางคนบอกทำไมไม่ให้องค์กรรับรอง แต่นี่คือสิ่งที่รัฐธรรมนูญให้ประชาชนมีส่วนร่วมระดับอำเภอ เพื่อให้ได้ผู้แทนปวงชนชาวไทยอย่างที่ออกแบบไว้ อาจแตกต่างกับที่เคยมี ส่วนเรื่องการลงกลุ่ม ว่าสมัครกลุ่มไหน เป็นเรื่องเอกสารประกอบ ไม่ใช่คุณสมบัติ ต้องแยกกัน แต่ถ้าผิดทั้ง 2 อย่างถือว่าผิดกฎหมายแน่นอน
ประเด็นที่ห้า การสังเกตการณ์การเลือก สว. เราได้แจ้งไปยังสถานที่เลือกทั้งระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ส่วนระดับประเทศไม่มีปัญหา เพราะสำนักงาน กกต.กลางดำเนินการเอง เปิดให้ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมได้หลายร้อยคน ส่วนระดับอำเภอ หรือจังหวัดนั้น มีการจัดโซนให้สื่อและประชาชนเข้าสังเกตการณ์ได้ แต่ห้ามรบกวนเจ้าหน้าที่หรือผู้สมัคร ไม่ว่าจะเป็น กมธ.การพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร หรือไอลอว์ ขอมาเราก็ให้
คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ
‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’
ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...
สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...
ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน
วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...
อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’
นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...
ยอดวิว