ผลวิจัยชี้ 'มลพิษทางอากาศ' ทำคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 135 ล้านคน ในช่วงปี 23-63

ผลการศึกษาใหม่จากนักวิจัยมหาวิทยาลัยนันยาง ประเทศสิงคโปร์ ที่เผยแพร่ผ่านวารสาร Environment International ระบุว่า ปรากฏการณ์ด้านสภาพอากาศ เช่น เอลนีโญ และปรากฏการณ์ไอโอดี ที่อุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Dipole) ยิ่งทำให้ผลกระทบจากมลพิษเหล่านี้ย่ำแย่ลงไปอีก เนื่องจากสภาพอากาศรุนแรงมากขึ้น

ขณะที่ฝุ่น PM 2.5 เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์อย่างมากเมื่อหายใจเข้าไป เพราะฝุ่นเหล่านั้นมีอนุภาคขนาดเล็กพอที่จะซึมเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งมีที่มาจากยานยนต์ และการปล่อยมลพิษของอุตสาหกรรม รวมถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไฟป่า และพายุฝุ่น

รายงานเผยว่า อนุภาคละเอียดเหล่านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของผู้คนทั่วโลกราว 135 ล้านคน ตั้งแต่ปี 2523 - 2563 หรือประมาณ 40 ปี

ผลการศึกษาพบว่า ผู้คนเหล่านั้นเสียชีวิตด้วยวัยที่อ่อนกว่าอายุขัยเฉลี่ยของผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ที่สามารถได้รับการรักษาหรือป้องกันโรคได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจและโรคปอด และโรคมะเร็ง และพบด้วยว่า รูปแบบของสภาพอากาศมีส่วนทำให้คนเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 14%

รายงานระบุว่า ทวีปเอเชียมีคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจาก PM 2.5 สูงสุด ที่ระดับมากกว่า 98 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน และอินเดีย ขณะที่ปากีสถาน บังกลาเทศ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น มีคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจำนวนมากเช่นกัน อยู่ที่ระดับ 2-5 ล้านราย

"สตีฟ ยิม" (Steve Yim) รองศาสตราจารย์จากสถาบันสิ่งแวดล้อมแห่งเอเชียของ มหาวิทยาลัยนันยาง บอกว่า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนของสภาพอากาศในรูปแบต่าง ๆ ทำให้มลพิษทางอากาศเลวร้ายลงไปอีก และเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น เอลนีโญ ระดับมลพิษจะสูงขึ้น นั่นหมายความว่า อาจมีผู้คนต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพราะมลพิษ PM 2.5 มากขึ้น

“นี่ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการทำความเข้าใจ และตระหนักถึงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเมื่อต้องจัดการกับมลพิษทางอากาศ เพื่อปกป้องสุขภาพของประชากรทั่วโลก”

ด้านองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) เผยด้วยว่า ผลกระทบโดยรวมจากมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นภายนอก และภายในครัวเรือน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากร 6.78 ล้านคนทั่วโลกในทุก ๆ ปี

ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ครอบคลุมเกี่ยวกับ คุณภาพอากาศ และสภาพอากาศมากที่สุด เนื่องจากใช้ข้อมูลจากช่วงเวลา 40 ปี เพื่อนำมาศึกษาให้เห็นภาพผลกระทบฝุ่นละอองต่อสุขภาพ

นักวิจัยสิงคโปร์ยังได้ศึกษาข้อมูลทางดาวเทียมจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติแห่งสหรัฐ หรือนาซา เกี่ยวกับระดับของฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศโลก และวิเคราะห์สถิติการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษ โดยได้ข้อมูลมาจากสถาบันเมตริกและการประเมินผลสุขภาพในสหรัฐ (Institute for Health Metrics and Evaluation) ที่เป็นศูนย์วิจัยอิสระ

ขณะที่ข้อมูลรูปแบบของสภาพอากาศในช่วงปี 2523-2563 นั้น มาจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ โนอา ในสหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยจากฮ่องกง อังกฤษ และจีน เข้าร่วมด้วย

 

อ้างอิง: AFP

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

เราทำได้! ฝรั่งเศสโล่งอก พิธีเปิดโอลิมปิก 2024 ผ่านไปด้วยดี

ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง เลือกที่จะทำ พิธีเปิดโอลิมปิก 2024 ใน แม่น้ำแซน แทนที่จะเป็นใ...

ทรัมป์ เตรียมกลับไปหาเสียงเมืองบัตเลอร์ โพลนำแฮร์ริส 2%

ทรัมป์ เผยเมื่อวันศุกร์ (26 ก.ค.) ว่า การหาเสียงที่เมืองบัตเลอร์ เพื่อเป็นเกียรติแด่นายคอเรย์ คอมเพอ...

วินาศกรรมรถไฟก่อนโอลิมปิก รัสเซียเกี่ยวข้องหรือไม่?

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันศุกร์ (26 ก.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น เกิดเหตุลอบวางเพลิงกล่องสัญญาณเคเบ...

พิธีเปิดโอลิมปิก 2024 ผ่านเรื่องเล่าการปฏิวัติ สู่เสรีภาพและความเท่าเทียม

พิธีเปิดโอลิมปิก 2024 ปารีสเกมส์ จบลงไปแล้วอย่างราบรื่น ครั้งแรกที่ไม่ได้จัดขบวนพาเหรดในสนามกีฬา เพร...