อุตสาหกรรม 5.0 (Industry 5.0) อนาคตใกล้กว่าที่คิด

ในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก จีนกำลังเป็นผู้นำการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก  ในฝั่งสหรัฐฯ อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ได้นำเอาเทคโนโลยีอย่าง AI และหุ่นยนต์ร่วมปฎิบัติงาน (cobots) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดของเสีย

นโยบายของกลุ่มประเทศ G7 เน้นไปที่การเร่งพัฒนาทักษะดิจิทัลและการลงทุนในนวัตกรรมและการวิจัยเพื่อเพิ่มเตรียมพร้อมสู่ Industry 5.0  โดยผลักดันโครงการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและให้ความสำคัญกับการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เช่น โครงการ Green Steel ที่มุ่งลดการปล่อยคาร์บอนจากการผลิตเหล็ก และสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่ม G7 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Industry 4.0 เน้นการเชื่อมต่อและการควบคุมผ่าน IoT, การประมวลผลแบบคลาวด์ และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน แต่ Industry 5.0 มุ่งเน้นไปที่การเสริมประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร

อุตสาหกรรม 5.0 เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตควบคู่กับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพโดยการนำเอาเทคโนโลยี

เช่น AI, หุ่นยนต์อัจฉริยะ และ IoT มาลดการใช้พลังงานและวัสดุที่ไม่จำเป็น ส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและกระตุ้นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถสร้างมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย แทนที่จะเน้นเฉพาะผู้ถือหุ้นเท่านั้น

หลายอุตสาหกรรมได้เริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่ Industry 5.0 เพราะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และตอบสนองนโยบายความยั่งยืน

ตัวอย่างเช่น  BMW ใช้หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์พื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแบบเฉพาะราย  Philips นำเครื่องมือวินิจฉัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อพัฒนายาเฉพาะบุคคล และนำเอาอุปกรณ์อัจฉริยะมา ผสมผสานความเชี่ยวชาญของมนุษย์เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ในกระบวนการรักษา 

 Amazon ใช้หุ่นยนต์ AI ทำงานร่วกับพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และคลังสินค้า และนำเอาระบบอัตโนมัติมาลดต้นทุนและแก้ปัญหาในการจัดส่ง Pfizer ใช้ AI และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในการค้นคว้าและพัฒนายา เพื่อให้วงจรการผลิตตรงเป้าและแม่นยำมากขึ้น

อุตสาหกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Industry 5.0 ว่าการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีขั้นสูงจะนำไปสู่ความก้าวหน้าอีกขั้นของภาคอุตสาหกรรมไป

เมื่ออนาคตการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด ประเทศไทยจะบริหารจัดการอย่างไรเพื่อลดช่องว่างและความท้าทาย?

คำตอบอยู่ที่ภาครัฐและและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงส่งเสริมการศึกษาด้าน STEM เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรสู่อนาคต อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่น่าเป็นห่วงเพราะหลายประเทศก้าวสู่ Industry 5.0 แล้ว

ในขณะที่ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์  จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ หากอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยไม่ก้าวสู่ Industry 5.0 จะส่งผลให้ประเทศสูญเสียโอกาสในการแข่งขันในตลาด ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจโดยรวม.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

นิวเดลีกระอัก! มลพิษรุนแรงกลับมาแล้ว

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานข้อมูลจากบริษัทติดตามคุณภาพอากาศIQAir วันนี้ (23 ต.ค.) มลพิษในกรุงนิวเดลีสูงเก...

'ทิม คุก' โผล่เยือนจีนรอบ 2 ภายในปีเดียว จ่อดันบริการเอไอ Apple Intelligence

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า "ทิม คุก" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ "แอปเปิ้ล อิงค์" (Apple) ได้เดินทา...

ผู้ว่าแบงก์ชาติย้ำสื่อนอก ไม่รีบลดดอกเบี้ยรอบใหม่

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งสัญญาณว่า ธปท.จะไม่เร่งปรับลดอัตร...

อยู่บ้านถูกข่มเหง! ลูกชายคนเล็ก ลี กวนยู ได้ลี้ภัยในสหราชอาณาจักร

นายลี เซียนหยาง วัย 67 ปี บุตรชายคนเล็กของอดีตนายกรัฐมนตรีลี กวนยู และน้องชายของอดีตนายกรัฐมนตรีลี เ...