นักวิทยาศาสตร์ขุดพบ ฟอสซิล “ปีศาจทะเล” อายุ 100 ล้านปี ในออสเตรเลีย

เทอโรซอร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานบินได้ที่น่าเกรงขามเมื่อร้อยล้านปีก่อน ถูกขนานนามว่า "ปีศาจทะเล" (Sea Phantom) โดยมีกระดูกกรามยาวปลายมนบนและล่าง ทั้งมีฟันแหลมคมเต็มปาก เหมาะใช้หาเหยื่อและจับปลาในทะเล

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานวันนี้ว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ประกาศค้นพบฟอสซิลเทอโรซอร์ ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งสิ่งมีชีวิตชนิดนี้เคยอาศัยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์ และสัตว์เลื่อยคลานนานาชนิดใน “ยุคครีเทเชียส”

นักวิทยาศาสตร์ได้เรียกฟอสซิลเทอโรซอร์ที่พบครั้งนี้ว่า ฮาลิสเกีย ปีตาเซนิ (Haliskia peterseni) ถือเป็นฟอสซิลเทอร์โรซอร์ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยขุดพบในออสเตรเลีย

ฟอสซิลเทอโรซอร์ที่ถูกค้นพบครั้งนี้ มีปีกกว้าง 4.6 เมตร และเคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 100 ล้านปีก่อน ทำให้ฟอสซิลเทอโรซอร์เฟอร์โรดราโกที่เคยค้นพบปี 2019 มีขนาดและอายุน้อยกว่าเทอโรซอร์ที่ขุดพบครั้งนี้ ประมาณ 5 ล้านปี

ในอดีตทะเลเอโรมังกาเป็นทะเลขนาดใหญ่อยู่ใกล้แผ่นดิน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในออสเตรเลียปัจจุบัน

“อาเดล เพนต์แลนด์" นักศึกษาปริญญาเอก สาขาบรรพชีวินวิทยาของมหาวิทยาลัยเคอร์ติน ประเทศออสเตรเลีย ได้เขียนบทความการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารไซแอนทิฟิก ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า มีหลักฐานชัดเจน ฟอสซิลเทอโรซอร์ทั้งสองตัว ถูกขุดพบในพื้นที่แห่งนี้ซึ่งอดีตเป็นทะเลเอโรมังกา

โครงกระดูกที่ค้นพบค่อนข้างเปราะบาง สำหรับเทอร์โรซอร์ฮาลิสเกียมีความสมบูรณ์ประมาณ 22% โดยมีขากรรไกรล่าง ปลายกรามบน กระดูกคอ ฟัน 43 ซี่ กระดูกสันหลังซี่โครง กระดูกปีกทั้งสองข้าง และกระดูกขาข้างหนึ่ง

“นักวิทยาศาสตร์อนุมานได้ว่า เทอโรซอร์ตัวนี้มีลิ้นที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรง โดยพิจารณาจากความยาวของกระดูกในลำคอ เทียบกับความยาวของขากรรไกรล่าง” เพนต์แลนด์ระบุ

ขณะที่เทอโรซอร์อื่นๆ มีกระดูกคอยาว 30% หรือ 60% ของขากรรไกรล่าง แต่ฮาลิสเกียมีกระดูกคอยาว 70%

นั่นหมายความว่า ขณะเทอโรซอร์ฮาลิสเกียล่าปลาหรือปลาหมึกยักษ์ มันอาจได้เปรียบตรงที่มีปากใหญ่แหลม และแข็งแรงสามารถจับเหยื่อได้รวดเร็ว

ซากฟอสซิลของฮาลิสเกียสมบูรณ์กว่าเฟอร์โรดราโก ซึ่งทั้งสองเป็นเทอโรซอร์สายพันธุ์  Anhanguerians ที่ค้นพบในจีน สหรัฐ บราซิล อังกฤษ สเปน และโมร็อกโก ขณะที่เทอโรซอร์อีก 3 ตัวที่มีชื่อว่า ออสเตรเลียนโรซอร์ ได้ถูกพบจากการขุดเจอกระดูกกรามเพียงบางส่วนเท่านั้น

นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า หลังจากเทอโรซอร์ฮาลิสเกียตัวนี้ตายลง ได้ถูกฝังอยู่ใต้ตะกอนก้นทะเลเอโรมังกา จนกลายเป็นฟอสซิล

รอยเตอร์รายงานด้วยว่า การตั้งชื่อสัตว์ชนิดนี้ก็เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ เควิน ปีเตอร์เซน ชาวสวนอะโวคาโดที่ผันตัวเป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์โครโนซอรัสคอร์เนอร์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิลฮาลิสเกีย

เทอโรซอร์เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังกลุ่มแรกจาก 3 กลุ่มที่สามารถบินได้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 230 ล้านปีก่อน ขณะที่นกเป็นสิ่งมีชีวิตเกิดเมื่อ 150 ล้านปีก่อน และค้างคาวเกิดขึ้นเมื่อ 50 ล้านปีก่อน

"ในเหตุการณ์ชนดาวเคราะห์น้อยเมื่อ 66 ล้านปีก่อน ได้ทำให้เทอโรซอร์สูญพันธุ์ไปเช่นเดียวกับไดโนเสาร์" บทความระบุ

เทอโรซอร์มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งอาศัยภายใต้ระบบนิเวศน์ที่แตกต่าง โดยเทอโรซอร์สายพันธุ์ขนาดเล็กจะกินแมลงเป็นอาหาร ขณะที่สายพันธุ์อื่นๆ กินปลาเป็นอาหาร ทั้งนี้เคยค้นพบเทอโรซอร์เล็กที่สุดมีปีกกว้างประมาณ 25 ซม. ขณะที่เทอโรซอร์ใหญ่ที่สุดมีปีกกว้างเท่ากับเครื่องบินรบขนาดเล็ก และเทอโรซอร์ยังเป็นสัตว์ใหญ่ที่สุดที่ชอบบินเหนือท้องฟ้า

ที่มา : Reuters

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

นิวเดลีกระอัก! มลพิษรุนแรงกลับมาแล้ว

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานข้อมูลจากบริษัทติดตามคุณภาพอากาศIQAir วันนี้ (23 ต.ค.) มลพิษในกรุงนิวเดลีสูงเก...

'ทิม คุก' โผล่เยือนจีนรอบ 2 ภายในปีเดียว จ่อดันบริการเอไอ Apple Intelligence

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า "ทิม คุก" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ "แอปเปิ้ล อิงค์" (Apple) ได้เดินทา...

ผู้ว่าแบงก์ชาติย้ำสื่อนอก ไม่รีบลดดอกเบี้ยรอบใหม่

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งสัญญาณว่า ธปท.จะไม่เร่งปรับลดอัตร...

อยู่บ้านถูกข่มเหง! ลูกชายคนเล็ก ลี กวนยู ได้ลี้ภัยในสหราชอาณาจักร

นายลี เซียนหยาง วัย 67 ปี บุตรชายคนเล็กของอดีตนายกรัฐมนตรีลี กวนยู และน้องชายของอดีตนายกรัฐมนตรีลี เ...