ดื่มชานมอย่างไรให้สุขภาพดี ไม่เป็นโรคอ้วน พร้อมลดเสี่ยงนิ่วในไต

ผู้ใดที่ชื่นชอบการดื่มชานม ชาไทย ชนิดต่างๆ อาจต้องควรระวังเพียงสักนิด เพราะการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ทุกวันอาจทำให้เกิดภาวะเสี่ยงเป็นนิ่วในไตได้

แน่นอนว่าการทำงานที่หนักหนามาทั้งวัน เพียงแค่ได้ดื่มชานมเย็นหวานๆ สักแก้วก็อาจจะช่วยชีวิตของเราได้ไม่มากก็น้อย ทำให้เครื่องดื่มชนิดนี้เข้าไปเป็นเครื่องดื่มแก้วโปรดที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน อย่างไรก็ตาม การได้ดื่มชานมทุกวัน อาจจะตามมาด้วยผลข้างเคียง ผลเสียต่อสุขภาพแบบไม่รู้ตัว

ลำดับแรก ชานมเย็น เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ด้วยความหวานที่แฝงมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ อีกประการหนึ่งที่น่าสนใจคือ ชานมเย็นนี้อาจเชื้อเชิญโรคที่มีผลต่อสุขภาพ ที่ชื่อว่า ‘นิ่วในไต’ เข้ามาในร่างกายได้ด้วยเช่นกัน

นิ่วในไต คือ การตกผลึกของแร่ธาตุต่างๆ ในปัสสาวะ จนรวมตัวกันเป็นก้อนแข็งๆ มีขนาดตั้งแต่เม็ดทราย จนถึงลูกปิงปอง ทำให้ก้อนต่างๆ เหล่านี้ไปอุดตันทางเดินปัสสาวะ ทำให้อั้นฉี่ไม่ได้ ปวดท้องรุนแรง บางรายถึงขั้นไตวายได้

สาเหตุที่ชานมหวานๆ เป็นตัวกระตุ้นที่ก่อให้เกิดนิ่วในไตได้ มาจากสารอาหารบางอย่างในตัวชานม เช่น น้ำตาลฟรุกโตส ด้วยหน้าที่แล้วฟรุกโตสจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ไตทำงานหนักและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว รวมถึงแคลเซียม ชานมบางชนิดมีส่วนผสมของนม ซึ่งมีแคลเซียมสูง แคลเซียมส่วนเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะ และอาจตกผลึกเป็นนิ่วได้ สุดท้าย ออกซาเลต สารนี้พบได้ในใบชา ออกซาเลตจะจับตัวกับแคลเซียม กลายเป็นนิ่วชนิดแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด

สำหรับคนที่ชื่นชอบการดื่มชานมและเป็นทีมชานมเย็น ควรทำอย่างไรกัน ทางไทยรัฐออนไลน์ได้นำข้อมูลจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่แนะนำวิธีการดื่มชานมแบบสุขภาพดีมาฝากกัน

...

1. ลดความหวานลง สั่งแบบหวานน้อย 0% ถึง 25% เท่านี้ก็เพียงพอ

2. ดื่มน้ำเปล่าให้มากและเพียงพอต่อวัน เพราะน้ำเปล่าจะสามารถเข้ามาช่วยเจือจางปัสสาวะ ลดการตกผลึกของแร่ธาตุที่กล่าวไปข้างต้น

3. เลือกนมไขมันต่ำ นมพร่องมันเนย หรือนมถั่วเหลือง ที่ช่วยลดปริมาณแคลเซียมที่จะได้รับ

4. ทานผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย มะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วชนิดต่างๆ 

แน่นอนว่าเราสามารถดื่มชานมเย็นได้ แต่ผู้รับประทานอาจจะต้องดื่มในปริมาณที่เหมาะสมอย่างพอประมาณ  ทางเลือกที่ดีเพื่อสุขภาพ คือ ชานมแบบหวานน้อย และอย่าลืมดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถทำให้เราดื่มด่ำกับชานมเย็นได้อย่างสบายใจ แถมไม่เสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไตอีกด้วย

ข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...