ยูนิลีเวอร์ สู่ 'Net Zero' ด้วยโรงงานที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100%

พนิตนาถ จำรัสพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย กล่าวว่าโรงงานเกตเวย์ได้เริ่มโครงการที่สนับสนุนนโยบายด้านความยั่งยืนตั้งแต่ปี 2557 และดำเนินภายใต้แผนการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Transition Action Plan: CTAP) เพื่อลดการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิต และลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด ด้วยความสำเร็จจากการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเรื่องสภาพภูมิอากาศ ได้แก่

1. พลังงานไอน้ำ 

ซึ่งได้พัฒนาระบบหม้อต้ม ที่ใช้ในกระบวนการผลิตและการล้างทำความสะอาดเครื่องจักร เพื่อเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาเป็นการใช้หม้อต้มที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลมาผลิตพลังงานไอน้ำ โดยในโรงงานเกตเวย์มีหม้อต้มขนาดใหญ่ 3 ตัน

ทั้งนี้ด้วยประเทศไทยมีความโดนเด่นในด้านอุตสาหกรรมเกษตรและมีความยั่งยืนในด้านปริมาณของเชื้อเพลิงชีวมวล ในปี  2560 ทีมงานของโรงงานเกตเวย์จึงได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับหม้อต้มน้ำของโรงงาน

จะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานการจัดหาแหล่งพลังงานชีวมวลของยูนิลีเวอร์  มาจากพืชปลูกเพื่อพลังงานไม่ใช่ไม้ธรรมชาติ หรือพืชอาหาร ผลพลอยได้ หรือ ขยะอุตสาหกรรม เช่น เศษไม้จากอุตสาหกรรมการเกษตร (Post-industrial waste) และคำนึงถึงการขนส่ง ควบคุมการปล่อยคาร์บอน ที่เกิดระหว่างการขนส่งเชื้อเพลิงมายังโรงงาน

 

การหาผู้ผลิตเศษไม้ที่มีแหล่งที่มาของไม้ เศษไม้ และกระบวนการผลิต Wood Pellet รวมถึงการขนส่งที่ผ่านมาตรฐานการจัดซื้อแหล่งเชื้อเพลิงชีวมวล ต้องมีการตรวจสอบแหล่งผลิต และใบรับรองแหล่งผลิตไม้ ที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของไม้ก่อนนำมาใช้งานได้ และยังต้องหาผู้ผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวมวลสำรองสำหรับกรณีที่แหล่งผลิตมีปัญหาไม่สามารถจัดส่ง Wood Pellet ได้

2. พลังงานไฟฟ้า

ได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดซื้อพลังงานทั้งหมดที่มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน 100% โดยพลังงานหมุนเวียนจากผู้ที่ได้ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy certificates: RECs) ในประเทศไทย เพื่อทดแทนการปลดปล่อยคาร์บอนจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ 100%

นอกจากนี้ยูนิลีเวอร์ยังได้ทำหนังสือบันทึกความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์เพื่อทำการศึกษาร่วมกับ กฟผ. ในการหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 100% มาจัดจำหน่ายให้กับยูนิลีเวอร์ 

3. พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนอาคาร (Solar Roof)

โรงงานเกตเวย์ยังได้เริ่มโครงการพลังงานแสงอาทิตย์  โดยมุ่งเน้นไปที่ การควบคุมพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดดบนอาคารที่มีกำลังผลิตพลังงานที่สะอาดจำนวน 560 กิโลวัตต์  เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงที่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเพิ่มอัตราการใช้พลังงานหมุนเวียน

4.สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากสารทำความเย็นบางชนิดมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศเนื่องจากมีคุณสมบัติของก๊าซเรือนกระจก ทางโรงงานของยูนิลีเวอร์จึงได้ทำการเปลี่ยนเป็นสารทำความเย็นทั้งหมดให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแต่ยังคงมีประสิทธิภาพดี ตั้งแต่  2564

 

เลือกใช้สารที่มีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential: GWP) ต่ำกว่า 5 และค่าแสดงระดับการทำลายโอโซน เป็น ศูนย์ เท่านั้น รวมถึงกำจัดสารทำความเย็นอย่างถูกต้องผ่านบริษัทที่ได้รับการรับรองว่ามีการกำจัดสารทำความเย็นด้วยวิธีการที่ถูกต้องและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพราะยูนิลีเวอร์ให้ความสำคัญทั้งกับปริมาณคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการผลิต และตระหนักถึงการปล่อยสารที่ต้องไม่ทำลายชั้นโอโซน

 

ทำให้โรงงานเกตเวย์ได้รับการรับรองให้เป็นหนึ่งในโรงงานยูนิลีเวอร์ที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในปี พ.ศ. 2566   

และยังมีลดของเสียที่แหล่งกำเนิด รวมถึงลดการใช้งาน (Reduce) ตลอดจนสนับสนุนการใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการคืนสภาพ (Recover)โดยการ ส่งมอบเศษอาหาร 100% ให้เกษตรกรในพื้นที่ นำข้าว แป้งมัน และเศษอาหารจากโรงอาหารไปทำอาหารสัตว์ งดฝังกลบขยะอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย นำไปรีไซเคิล หรือทำเชื้อเพลิงผสมทั้งหมด รวมถึงร่วมมือกับสำนักงานการนิคมเกตเวย์ นำตะกอนน้ำเสียทำปุ๋ย: ส่งต่อให้เกษตรกรโดยรอบนำไปใช้ประโยชน์

นอกจากนี้ยังดำเนินการไปสู่เป้าหมายการลดการใช้พลาสติก โดยมีกรอบการทำงานดังต่อไปนี้

  • Less  ลดปริมาณพลาสติกใหม่ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา เอื้ออำนวยต่อการใช้ซ้ำ และเน้นเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์น้อยลง
  • Better เพิ่มการใช้พลาสติกที่มาจากการรีไซเคิล และพลาสติกได้รับการออกแบบให้สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้
  • No ส่งเสริมการใช้รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ตัดพลาสติกใหม่ออกให้หมด และเปลี่ยนไปใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ทางเลือก เช่น กระดาษ แก้ว หรืออะลูมิเนียม

ทำให้ยูนิลีเวอร์สามารถขับเคลื่อนพลังงานสะอาด สู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างยั่งยืน

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...