'ไทยน้ำทิพย์' ชูโรงงาน เน้นนวัตกรรมความยั่งยืนตามมาตรฐานของ 'โคคา-โคล่า'

ปุณฑริกา สุสัณฐิตพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ องค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ไทยน้ำทิพย์ ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในประเทศไทย มุ่งมั่นในการสร้างความสุข และความสดชื่นให้คนไทย ผ่านการส่งมอบเครื่องดื่มแบรนด์ดังระดับโลก ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัท ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ และสังคม

โดยในแต่ละด้านมีเป้าหมาย และโรดแมปจนถึงปี 2573 แผนงานด้านความยั่งยืนถูกผนวกอยู่ในแผนงานในการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่แผนงานด้านทรัพยากรบุคคล การกำกับดูแลกิจการ ไปจนถึงแผนงานด้านซัพพลายเชน ซึ่งให้ความสำคัญกับ 3 เสาหลักคือ การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ผ่านการวางแผนกลยุทธ์ และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ทันสมัย และตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่ง จนถึงมือผู้บริโภค”

เทอดพงษ์ ศิริเจน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านคุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “ไทยน้ำทิพย์ นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในทุกกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด ปัจจุบัน ไทยน้ำทิพย์ มีโรงงานผลิตทั้งหมด 5 แห่ง ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และได้มาตรฐานระดับโลก

รวมถึงได้รับการยกย่องในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกใต้ในด้านการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีสายการผลิตที่ทันสมัยถึง 21 สาย มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้นกว่า 450 ล้านยูนิตเคสต่อปี

โรงงานไทยน้ำทิพย์ ปทุมธานี สร้างขึ้นในปี 2524 บนพื้นที่ 140 ไร่ มีสายการผลิต 7 สาย รวมถึงสายการผลิตเครื่องดื่มแบบกระป๋องที่มีความเร็วที่สุดในโรงงานผลิตเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องในประเทศไทย สามารถผลิตได้ถึง 2,000 กระป๋องต่อนาที ในด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับความยั่งยืน โรงงานไทยน้ำทิพย์ ปทุมธานี ใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย MBR (Membrane Bio Reactor) ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ และล้ำสมัยที่สุดในเวลานี้

 

การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

ไทยน้ำทิพย์ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้กลยุทธ์ 3R (Reduce, Reuse, Recycle) ในกระบวนการผลิต ด้วยการลด (Reduce) ปริมาณการใช้น้ำ โดยหนึ่งในนวัตกรรมที่ทำมาใช้คือ แอปพลิเคชัน

และนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต รวมถึง บำบัด (Recycle) น้ำที่ผ่านการใช้งานแล้ว เช่น ติดตั้งระบบ Membrane Bio Reactor บำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบ R.O. (Reverse Osmosis) เพื่อนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดจนสะอาดได้มาตรฐาน กลับมาใช้ใหม่  ในขั้นตอนการผลิต (ไม่ใช่วัตถุดิบสำหรับผลิตเครื่องดื่ม) ซึ่งระหว่างปี  2563 –  2566 โรงงานไทยน้ำทิพย์ทั้ง 5 โรงงาน สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 907 ล้านลิตร สะท้อนถึงความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ไทยน้ำทิพย์ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดภายในกระบวนการผลิต ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงงานไทยน้ำทิพย์ครบทั้ง 5 แห่ง คือ โรงงานรังสิต โรงงานปทุมธานี โรงงานนครราชสีมา โรงงานขอนแก่น และโรงงานลำปาง

ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานสะอาดรวม 12.6242 MWp คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน นอกจากนี้ยังมีการนำรถพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในรถยกสินค้า (EV Forklift) ในคลังสินค้า และรถขนส่งสินค้า (EV Truck) อีกด้วย พร้อมนำระบบ Telematics มาใช้บริหารจัดการการขนส่ง ซึ่งช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกล้อง AI ช่วยมอนิเตอร์ความเสี่ยงของพฤติกรรมการขับขี่ เพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงานขับรถ ในปี พ.ศ.2566 สามารถลดการใช้พลังงานได้ 34.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า 

สร้างวงจรปิดของบรรจุภัณฑ์ 

ไทยน้ำทิพย์ สนับสนุนวิสัยทัศน์ระดับโลก “World Without Waste” ของ “โคคา-โคล่า” ซึ่ง “โคคา-โคล่า” มีเป้าหมายที่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2568 และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกโดยใช้วัสดุรีไซเคิลอย่างน้อย 50% รวมถึงช่วยเก็บรวบรวม และรีไซเคิลขวดหรือกระป๋องในจำนวนเทียบเท่ากับที่จำหน่าย ภายในปี 2573

 ไทยน้ำทิพย์ให้ความสำคัญกับ 3 แนวทาง 

  • ลด (Reduce) การใช้บรรจุภัณฑ์ด้วยการลดปริมาณพลาสติกในบรรจุภัณฑ์ผ่านการ lightweight โดยยังคงรักษาคุณภาพ และความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ปี  2552 ไทยน้ำทิพย์สามารถลดการใช้เม็ดพลาสติกลงได้กว่า 7,645 ตัน
  • ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ (Redesign) เพื่อให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2568 และใช้วัสดุรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์อย่างน้อย 50% ภายในปี  2573 ไทยน้ำทิพย์ได้เปลี่ยนขวด “สไปรท์” จากขวดสีเขียวเป็นขวดใส เพื่อเพิ่มความสามารถในการนำบรรจุภัณฑ์กลับไปรีไซเคิล
  • สนับสนุนการจัดเก็บ และรีไซเคิลขวดพลาสติก และกระป๋องที่ใช้แล้ว (Collection & recycling) เพื่อสร้างวงจรปิดของบรรจุภัณฑ์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และองค์กรไม่แสวงผลกำไร เพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลขยะพลาสติกในประเทศไทย และกระตุ้นให้ผู้บริโภครับรู้ และมีส่วนร่วมในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับบรรจุภัณฑ์

นอกจากนี้พลาสติกรีไซเคิล 100% (ไม่รวมฉลาก และฝา) หรือ Recycled PET (rPET) ในบรรจุภัณฑ์ขนาด 1 ลิตร และปีนี้ได้เปิดตัวบรรจุภัณฑ์ขนาด 300 มิลลิลิตร และ 510 มิลลิลิตร เพิ่มเติม ที่วางขายแล้วในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และร้านสะดวกซื้อทั่วไป โดยไทยน้ำทิพย์ได้ปรับสายการผลิตให้รองรับการผลิตขวด rPET ที่ทำจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอาหารได้อย่างปลอดภัย (Food Contact Grade) สอดรับความยั่งยืนได้ทั้งปัจจุบัน และอนาคต

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

อิสราเอลเฝ้าระวัง! นับถอยหลังครบรอบ 1 ปี‘ฮามาสโจมตี’

ก่อนถึงวันครบรอบหนึ่งปีในวันจันทร์ (7 ต.ค.) พลเรือตรีแดเนียล ฮาการี โฆษกกองทัพอิสราเอลแถลงผ่านโทรทัศ...

’สวัสดีโซล 2024‘ สุดปัง ชาวเกาหลีใต้ แห่ชมซอฟต์พาวเทอร์ไทยเพียบ

สถานเอกอัคราชทูตไทย ณ กรุงโซล ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) , สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร...

เครือข่ายความยั่งยืน SX2024 ส่งท้ายด้วยพลัง เตรียมก้าวสู่มหกรรมปี 2025

มหกรรม Sustainability Expo 2024 ครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้ปิดฉากลงอย่างน่าประท...

ส่องอัปเดตไมโครซอฟท์ ‘Copilot + PC’ ฟีเจอร์ใหม่กับขุมพลัง AI

ไมโครซอฟท์ เปิดตัวนวัตกรรม AI ใหม่ล่าสุด ที่กำลังจะได้รับการนำมาปรับใช้กับ Copilot+ PC และระบบปฏิบัต...